top of page
A..jpg

Football Academi

image.png
Gif2.gif

อคาเดมี ช่วงอายุต่างๆ

เป็นการสอนทักษะต่างๆ ตามช่วงอายุวัย ( แบ่งเป็น 2 รุ่นอายุวัย คือ 6 – 8 ปี และ 9 – 12 ปี ) - ในกลุ่มเริ่มแรก 6 – 8 ปี เน้นฝึกทักษะการเคลื่อนไหว การจัดระเบียบร่างกาย ได้อย่างถูกต้องตามลักษณะทางกายภาพให้ได้มากที่สุด และเน้นทักษะการเลี้ยง การครอบครองบอล เเละการเน้นทำให้เข้าใจการเล่นฟุตบอลได้มากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปต่อยอด

Gif.gif
image.png

อคาเดมี่ ฟุตบอลมีไว้ทำอะไร

เป้าหมายการพัฒนาของฟุตบอลไทย คือการสร้างนักเตะที่เต็มไปด้วยศักยภาพ ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล ดังนั้นอคาเดมีซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างนักฟุตบอลรุ่นใหม่ จึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้แผนการพัฒนาคุณภาพฟุตบอลไทยสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย

อคาเดมี่

เป้าหมายการพัฒนาของฟุตบอลไทย คือการสร้างนักเตะที่เต็มไปด้วยศักยภาพ ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล ดังนั้นอคาเดมีซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างนักฟุตบอลรุ่นใหม่ จึงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้แผนการพัฒนาคุณภาพฟุตบอลไทยสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
สมาคมฯ ที่เห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงมีแผนการที่จะเข้ามาสนับสนุนช่วยให้การพัฒนาเยาวชนของอคาเดมี มีทิศทางเดียวกัน เพื่อช่วยให้นักเตะเยาวชนเติบโตเป็นนักฟุตบอลที่เต็มด้วยความสามารถ

สมาคมฯ วางแผนที่จะช่วยเหลืออคาเดมีฟุตบอลทั่วประเทศไทยไว้ 2 ระดับ ระดับแรกคือการเปิดให้อคาเดมีฟุตบอลในไทย เข้ามาลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมกีฬาฟุตบอลไทย ซึ่งจะช่วยให้อคาเดมีได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่สมาคมฯ จะจัดขึ้น สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่สมาคมฯ เตรียมไว้เป็นความรู้ สำ.หรับการต่อยอดเพื่อพัฒนาศักยภาพของอคาเดมี

ระดับต่อมาคือโปรแกรมการให้ใบอนุญาตรับรองแก่อคาเดมีฟุตบอล(Academy Licensing) ซึ่งอคาเดมีที่ลงทะเบียนจะได้เข้าสู่โครงการพัฒนาต่างๆ ร่วมกับทางสมาคมฯ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือระดับโกลด์ (ทอง) ระดับซิลเวอร์ (เงิน) และระดับบรอนซ์ (ทองแดง)

ซึ่งในแต่ละระดับจะมีเนื้อหาที่จะให้ความรู้ แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม สำหรับอคาเดมีในแต่ละขั้น เพื่อยกระดับคุณภาพของอคาเดมีไทยทีละระดับ จนกลายเป็นอคาเดมีฟุตบอลมืออาชีพเต็มตัวในท้ายที่สุด

นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพของอคาเดมีฟุตบอลในไทย ผ่านการร่วมมือกับสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ซึ่งมีแผนการพัฒนาอคาเดมีอยู่ 3 ระดับ คือระดับ 1 ดาว 2 ดาว และ 3 ดาว

รวมถึงปัจจุบัน สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้มีการส่งนักวิเคราะห์เดินทางไปยังหลายประเทศสมาชิก เพื่อช่วยแนะแนวทางพัฒนาระบบอคาเดมีซึ่งประเทศไทยคือหนึ่งในนั้น ซึ่งอคาเดมีที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะช่วยให้นักเตะในสังกัดอคาเดมี มีชื่ออยู่ในฐานระบบของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ ที่จะคอยช่วยติดตามข้อมูล ความเคลื่อนไหวของผู้เล่นแต่ละคน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้นักฟุตบอลเยาวชนกลายเป็นเครื่องมือทางธุรกิจ

ขอบคุณวิดีโอจาก: T sport 7

ยกตัวอย่างจาก อคาเดมี่ระดับโลกที่สามรถปั้นนักเตะที่ยอดเยี่ยมได้

-1.สโมสรเซาเเธมป์ตัน

image.png
image.png

อคาเดมี่ นับุญจากเเดนใต้

 

เดอะ เซนต์ส นักบุญจากแดนใต้ เริ่มก่อตั้งสโมสรฟุตบอลภายใต้ชื่อสมาคมโบสถ์ เซนต์ แมรี่ ในปี 1885 และเข้าร่วมลีกดิวิชั่นสามในปี 1919 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์ฝึกเยาวชนเช่นกัน ในยุคแรกมี เซาแธมป์ตัน แคมบริดจ์ เป็นสถาบันฝึกสอนแยกต่างหาก ก่อนจะรวมกันในเวลาต่อมา อะคาเดมี่ ของ เซาแฮมป์ตัน เป็นที่รู้จักกันมากในยุคปลายทศวรรษที่ 80

เซาแธมป์ตัน เป็นทีมที่มีนักเตะลูกหม้อเป็นกำลังหลักมานาน ผลผลิตจากเยาวชนถูกวางรากฐานไว้อย่างต่อเนื่องโดยทีมงานทุกชุด ผู้เล่นเยาวชนของเซาแธมป์ตัน จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เปรียบเสมือนกับนักเตะชุดใหญ่ และการกล้าให้โอกาสนักเตะดาวรุ่งได้ลงสัมผัสเกมใหญ่ๆ เพื่อสะสมประสบการณ์ พร้อมที่ขึ้นชุดใหญ่ได้ทุกเมื่อ อะคาเดมี่ เซาแธมป์ตัน ให้ความสำคัญกับทั้งฟุตบอลในระดับท้องถิ่น และ ทั้งในระดับประเทศ ซึ่งมีศูนย์ฝึกเยาวชนกระจายทั่วเกาะอังกฤษ เซาแธมป์ตัน ขึ้นชื่อในเรื่องของการปั้นนักเตะอยู่เสมอๆ อาทิเช่น อลัน เชียเรอร์, แกเร็ธ เบล,ลุค ชอว์, ธีโอ วัลค็อตต์ และ อดัม ลัลลาน่า

2. สโมสรอาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม

image.png
image.png

เดอ ทูคอมสท์ หรือที่แปลว่า “The Future” ในภาษาอังกฤษ คือ ศูนย์ฝึกเยาวชนของ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถาบันลูกหนังที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง จากผลงานการสร้างนักฟุตบอลฝีเท้ายอดเยี่ยมออกมาประดับวงการลูกหนังมากมาย ระบบเยาวชนของ อาแจ็กซื ถือกำเนิดมาพร้อมกับการก่อตั้งสโมสรในปี 1900 แต่าโด่งดังในช่วงทศวรรษ 70 ที่มี ไรนุส มิเชลล์ ตำนานกุนซือชาวดัตช์ เจ้าของแผนการเล่น Total Football เป็นผู้วางรากฐานระบบเยาวชนให้ทีม

หลังจากที่ได้วางระบบเยาวชนที่ดี ก็เกิดลูกหม้อของ อะคาเดมี่ อาแจ็กซ์ ขึ้นมาอย่าง โยฮัน ครัฟฟ์ และ มาร์โก ฟาน บาสเท่น จึงทำให้หลายๆ สโมสรนำเอาระบบเยาวชนมาปรับใช้ ถือได้ว่า อะคาเดมี่ ของอาแจ็กซ์ อัมสเตอณืดัม เป็นต้นแบบในการวางระบบให้กับสโมสรอื่นๆ อีกด้วย โดยการปั้นเยาวชนขึ้นมาด้วยการสอนปรัชญาฟุตบอลที่เหมือนกัน และดันขึ้นไปเล่นทีมชุดใหญ่ และยังสามารถทำกำไรจากการขายผู้เล่นเยาวชนได้อีกด้วย

อาแจ็กซ์ เปรียบเสมือนโรงงานผลิตเยาวชนขึ้นสู่ตลาดลูกหนังโลก นักเตะอายุน้อยที่ทำผลงานได้ดีจะถูกเลื่อนขึ้นไปเล่นทีมชุดใหญ่ และเป็นที่จับตาของสโมสรยักษ์ใหญ่ทั้งหลายโดยนักเตะที่เคยถูกปลุกปั้นมาจาก อะคาเดมี่ ของอาแจ็กซ์ อาทิเช่น คริสเตียน อิริคเซ่น, โธมัส แฟร์มาเลน, ดาลี่ย์ บลินด์ และ เวสลี่ย์ ชไนเดอร์

ขอบคุณข้อมูล

bottom of page