เจ้าภาพ
ขั้นตอนการคัดเลือก
การคัดเลือกเจ้าภาพในครั้งแรก ๆ จัดขึ้นในการประชุมของสภาฟีฟ่า สถานที่การจัดการแข่งขันมักเกิดความขัดแย้งเนื่องจาก ทวีปอเมริกาใต้และยุโรป ไกลเกินกว่าจะเป็นศูนย์กลางของทีมที่แข็งแกร่งและต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน 3 สัปดาห์ โดยเรือ การตัดสินใจเลือกประเทศอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพครั้งแรกนั้น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน มีทีมจากประเทศยุโรปเพียง 4 ทีมที่เข้าแข่งขัน[37] ส่วนเจ้าภาพในอีก 2 ครั้งถัดมาจัดขึ้นในยุโรป ในการจัดการแข่งขันที่ประเทศเจ้าภาพคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก็เกิดข้อขัดแย้งขึ้นมา เพราะจัดในฝั่งยุโรปเพื่อให้เข้าใจว่า สถานที่จัดนั้นจะสลับกันไปมาระหว่าง 2 ทวีป ซึ่งทั้งอาร์เจนตินาและอุรุกวัย คว่ำบาตรฟุตบอลโลก 1938 ตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1958 เป็นต้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรและข้อขัดแย้งในอนาคต ฟีฟ่าได้เริ่มรูปแบบที่ชัดเจน โดยเลือกประเทศเจ้าภาพสลับกัน 2 ทวีป ระหว่างทวีปอเมริกาและยุโรป ดำเนินมาถึงฟุตบอลโลก 1998 จนฟุตบอลโลก 2002 ที่ประเทศเจ้าภาพคือเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย และเป็นครั้งเดียวของการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีเจ้าภาพร่วมกันและในฟุตบอลโลก 2010 แอฟริกาใต้ ก็เป็นชาติแรกในทวีปแอฟริกาที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ส่วนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 และถือเป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกจัด 2 ครั้งติดต่อกัน นอกยุโรป
การคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจะผ่านการลงคะแนนจากคณะผู้บริหารระดับสูงของฟีฟ่า โดยการทำบัตรลงคะแนนที่รัดกุม สมาคมฟุตบอลแห่งชาติของแต่ละประเทศที่ต้องการเสนอตนเป็นเจ้าภาพ จะได้รับหนังสือ "ข้อตกลงการเป็นประเทศเจ้าภาพ" จากฟีฟ่า ที่อธิบายถึงขั้นตอนและสิ่งที่ต้องการและคาดหวังจากการประมูล สมาคมที่ประมูลก็ได้รับแบบฟอร์ม เรื่องการยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ในการยืนยันอย่างเป็นทางการในการเป็นผู้เสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพ หลังจากนั้นฟีฟ่าจะแต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบเดินทางไปประเทศที่เสนอตัว เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ต้องการต่าง ๆ ในการจัดการแข่งขันและรายงานที่ประเทศนั้นอำนวยการสร้าง โดยการตัดสินใจคัดเลือกว่าประเทศใดเป็นประเทศเจ้าภาพนั้น โดยมากจะตัดสินใจล่วงหน้า 6-7 ปีก่อนปีที่จัด อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่มีการประกาศประเทศเจ้าภาพหลายเจ้าภาพในเวลาเดียวกัน เช่นในกรณี ฟุตบอลโลก 2018 และ 2022
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 เจ้าภาพที่เลือกจำกัดขึ้นเฉพาะประเทศที่เลือกจากเขตสมาพันธ์ (แอฟริกา ในฟุตบอลโลก 2010 และอเมริกาใต้ ในฟุตบอลโลก 2014) ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ นโยบายการหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาท ที่เจ้าภาพเยอรมนีชนะการลงคะแนนเสียงเหนือแอฟริกาใต้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อย่างไรก็ตามนโยบายการหมุนเวียนทวีป จะไม่มีต่อไปหลังปี 2014 ดังนั้นไม่ว่าจะประเทศใด (ยกเว้นประเทศที่เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งก่อน) ก็สามารถเสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 เจ้าภาพที่เลือกจำกัดขึ้นเฉพาะประเทศที่เลือกจากเขตสมาพันธ์ (แอฟริกา ในฟุตบอลโลก 2010 และอเมริกาใต้ ในฟุตบอลโลก 2014) ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ นโยบายการหมุนเวียนนี้เกิดขึ้นหลังจากข้อพิพาท ที่เจ้าภาพเยอรมนีชนะการลงคะแนนเสียงเหนือแอฟริกาใต้ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อย่างไรก็ตามนโยบายการหมุนเวียนทวีป จะไม่มีต่อไปหลังปี 2014 ดังนั้นไม่ว่าจะประเทศใด (ยกเว้นประเทศที่เป็นเจ้าภาพ 2 ครั้งก่อน) ก็สามารถเสนอตัวเป็นประเทศเจ้าภาพฟุตบอลโลกได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018
ผลการเเข่งขันของเจ้าภาพ
ผู้ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 6 ทีม จาก 8 ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการเป็นเจ้าภาพ ยกเว้นทีมบราซิล ที่แพ้ในนัดชิงชนะเลิศในนัดที่บ้านเกิดในปี ค.ศ. 1950 และสเปน ที่ได้ที่ 2 ในบ้านเกิดในปี ค.ศ. 1982 ส่วนอังกฤษ (ค.ศ. 1966) และฝรั่งเศส (ค.ศ. 1998) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเพียงครั้งเดียวในครั้งที่ประเทศของตนเป็นประเทศเจ้าภาพ ในขณะที่อุรุกวัย (ค.ศ. 1930), อิตาลี (ค.ศ. 1934) และอาร์เจนตินา (ค.ศ. 1978) ชนะครั้งแรกในการเป็นประเทศเจ้าภาพ แต่ในปีถัดมาก็ได้รับตำแหน่งชนะเลิศอีก ขณะที่เยอรมนี (ค.ศ. 1974) ชนะเลิศครั้งที่ 2 ในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ
ส่วนชาติอื่นที่ประสบความสำเร็จในครั้งที่เป็นประเทศเจ้าภาพ เช่น สวีเดน (ที่ 2 ในปี ค.ศ. 1958), ชิลี (ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1962), เกาหลีใต้ (ที่ 4 ในปี ค.ศ. 2002) และเม็กซิโก (รอบ 8 ทีมสุดท้ายทั้งในปี 1970 และ 1986) ทุกทีมที่เป็นเจ้าภาพ มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการแข่งขัน เว้นแต่ แอฟริกาใต้ (ค.ศ. 2010) ที่เป็นประเทศเจ้าภาพประเทศเดียวที่ตกรอบตั้งแต่รอบแรก